นางสาวจันทนา ไฝเจริญ
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านลวงเหนือ
ปีที่เกษียณอายุราชการ 2572
1. ภารกิจ บทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ ในปีการศึกษา 2561
1.1 งานด้านการสอน - ครูผู้สอนสาระภาษาต่างประเทศ สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- กิจกรรมฐานการเรียนรู้อัตลักษณ์โรงเรียน 5E วิถีไทลื้อ ฐานอู้จ๋าภาษาไทลื้อและ
ภาษาอาเซียน
1.2 งานพิเศษที่ได้มอบหมาย - เจ้าหน้าที่พัสดุ
- งานกิจการนักเรียน
1.3 งานตามโครงการ - โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- โครงการโรงเรียนสุจริต ( บริษัทสร้างการดี สร้างคน สร้างงาน วางพื้นฐานอาชีพ )
- โครงการประชาธิปไตย ( สภานักเรียน )
- โครงการสหกรณ์ออมทรัพย์ ( ธนาคารโรงเรียน )
- โครงการสถานศึกษาพอเพียง
2. ผลงานความภาคภูมิใจ
2.1 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระภาษาอังกฤษ ครูได้ใช้แนวคิดที่หลากหลาย เช่น Communicative Language Teaching ,Total Physical Response ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
และสามารถใช้ทักษะทางภาษาดีขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ส่งผลให้นักเรียนได้รับความสำเร็จ
ในการคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับอำเภอเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ กิจกรรมการเล่านิทานภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 อีกหนึ่งความสำเร็จคือ ในปีการศึกษา 2560 นักเรียนโรงเรียนบ้านลวงเหนือได้คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจากเดิมและสูงกว่าระดับประเทศ เปรียบเทียบปี 2559 คะแนนเฉลี่ย 32.73 ปี 2560 คะแนนเฉลี่ย 40.68 เพิ่มขึ้น 7.95
2.2 ด้านการจัดกิจกรรมตามโครงการ เป็นครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ได้ดำเนินโครงการโดยเป็นที่ปรึกษาบริษัทสร้างการดี กิจกรรมสร้างคน สร้างงาน วางพื้นฐานอาชีพ ครูให้คำแนะนำนักเรียนในการจัดตั้งบริษัท 5 บริษัท คือ บริษัทไข่ไก่เพื่อน้อง, บริษัทเห็ดนางฟ้าภูฎาน, บริษัทพืชผักปลอดสาร, บริษัทจิ้งหรีดพันธุ์ไข่, บริษัทปุ๋ยอินทรีย์ใบไม้บด ซึ่งการจัดกิจกรรมเป็นการบูรณาการกับโครงการสถานศึกษาพอเพียง, โครงการสหกรณ์โรงเรียนและโครงการคุณธรรม
ผู้ดำเนินกิจกรรม นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 45 คน
วิธีดำเนินกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละชั้นได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติกิจกรรมต่างๆทั้ง 5 กิจกรรมในวิชากอท. และมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบผลผลิตของแต่ละชั้น
- นักเรียนแบ่งกลุ่มความสนใจตามผลผลิตของแต่ละกิจกรรม โดยจัดตั้งบริษัท 5 บริษัท คือบริษัทไข่ไก่เพื่อน้อง, บริษัทเห็ดนางฟ้าภูฎาน, บริษัทพืชผักปลอดสาร, บริษัทจิ้งหรีดพันธุ์ไข่, บริษัทปุ๋ยอินทรีย์ใบไม้บด ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีครูที่ปรึกษาการดำเนินกิจการ มีการแบ่งฝ่ายงานรับผิดชอบ เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ ฝ่ายการบัญชีการเงิน ฝ่ายจัดหาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายตรวจสอบ และคณะกรรมการดำเนินงาน
- การจำหน่ายผลผลิตของแต่ละบริษัท จะจำหน่ายเป็น 2 วิธี คือจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน และจำหน่ายโดยตรง ( ในกรณีที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับการแปรรูปอาหารของโครงการอาหารกลางวัน หรือกรณีที่นำผลผลิตไปจำหน่ายในชุมชน )
- การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของแต่ละบริษัท หลังจากมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต แต่ละบริษัทจะทำบัญชี และนำเงินที่ได้ไปฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ( ธนาคารโรงเรียน )
- แต่ละบริษัทจะรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง ให้ที่ประชุมสภานักเรียนและครูที่ปรึกษาทุกบริษัทรับทราบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวิธีการ ปัญหา อุปสรรค และเสนอข้อแนะนำในการดำเนินกิจกรรมต่อไป
3. ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จ
โครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมสร้างคน สร้างงาน วางพื้นฐานอาชีพ บริษัทสร้างการดี เป็นโครงการที่ต้องการฝึกให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการ คือ ทักษะการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ โดยได้บูรณาการกับโครงการสถานศึกษาพอเพียง, โครงการสหกรณ์โรงเรียนและโครงการคุณธรรม ซึ่งได้รับความร่วมมือทั้งจากคณะครู นักเรียน ชุมชน และการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการอาหารกลางวันยั่งยืน การสนับสนุนไก่พันธุ์ไข่, เมล็ดพันธุ์ผัก, ก้อนเห็ดนางฟ้าภูฎานจากศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด การสนับสนุนภูมิปัญญาจากชุมชน จากความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อต้องการฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรม ดำรงตนอย่างสุจริตตามวิถีชีวิตของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา
- ความรับผิดชอบ นักเรียนต้องมีความรับผิดชอบอย่างมาก ต้องใช้เวลาในการผลิต ใส่ใจดูแลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ซึ่งนักเรียนต้องเสียสละเวลาในช่วงพัก หรือหลังเลิกเรียน โดยครูที่ปรึกษาจะต้องกำกับ ติดตามให้คำแนะนำ
- ความต่อเนื่องของผลผลิต ในบางบริษัทผลผลิตอาจขาดช่วง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและปัจจัยการผลิตตามช่วงระยะเวลา
5. ข้อเสนอแนะ
การรายงานความก้าวหน้าของแต่ละบริษัท เดือนละ 1 ครั้ง โดยจะต้องรายงานผลผลิต รายรับ-รายจ่าย ปัญหา อุปสรรค การตรวจสอบบัญชี ให้ที่ประชุมทราบคือสภานักเรียนและครูที่ปรึกษาแต่ละบริษัท เพื่อรับทราบและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน



เข้าชม :
1548 [ ขึ้นบน ]
|