แบบรายงาน วิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
นางสาว เกศิณี ศรีบุญเรือง
ตำแหน่ง ครู โรงเรียน บ้านตลาดขี้เหล็ก
ปีที่เกษียณอายุราชการ พ.ศ. 2593
1. ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ
.png)
2. ผลงานความภาคภูมิใจ หรืองานที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
2.1 วิธีดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
การดำเนินกิจกรรมสร้างอาชีพ วิถีพอเพียง เป็นกิจกรรมการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แชมพูสมุนไพรใบหมี่ ของบริษัทสร้างการดี โรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก โดยบริหารจัดการด้วยความร่วมมือของผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และชุมชน ในรูปแบบ PDCA ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักดังนี้
P (Plan)
การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้น โดยแต่งตั้งคณะกรรมการแต่ละฝ่ายเพื่อประชุมวางแผนการจัดทำผลิตภัณฑ์และจำหน่ายแชมพูสมุนไพรใบหมี่ ตั้งแต่การจัดหาวัสดุธรรมชาติ ออกแบบชิ้นงาน กำหนดราคา และนำจำหน่าย เป็นต้น กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละฝ่ายไว้ชัดเจน เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบไม่ก่อให้เกิดปัญหา
D (Do)
การนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่องสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ การผลิตผลงานนักเรียนขั้นตอนการผลิต มีการเลือกวัตถุดิบโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้จากในชุมชน มีการทำงานตามลำดับชั้นตอนที่กำหนดไว้ แบ่งงานกันตามภาระหน้าที่ ผลิตภัณฑ์แชมพูสมุนไพรใบหมี่ ของบริษัทสร้างการดีโรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีคุณค่าในผลงาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ประหยัด สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และมีการประชาสัมพันธ์ออกบูธจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งโรงเรียนและชุมชนยังมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการร่วมพัฒนานักเรียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการทำผลิตภัณฑ์
C (Check)
ฝ่ายอำนวยการผลิตมีหน้าที่ตรวจสอบ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ จัดหาวัสดุ วัตถุดิบที่เหมาะสม เพื่อนำมาทำแชมพูใบหมี่ ก่อนจะบรรจุลงขวด ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน คณะกรรมการบริษัทสร้างการดีได้จัดทำ สรุปรายงานผลการดำเนินงาน ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย โรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็กตรวจสอบ เมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2
A (Action)
มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ นอกจากการทำแชมพูที่ใช้วัตถุดิบจากใบหมี่เป็นหลักแล้ว ยังมีการนำขิงสดมาเป็นวัตถุดิบเพิ่มเติมด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางสมุนไพรให้กับผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นได้นำข้อเสนอแนะ รวมถึงปัญหาที่พบมาเป็นแนวทาง เพื่อการปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไป
ซึ่งผลลัพธ์ในการทำกิจกรรมทำให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
1 นักเรียนเกิดความรู้ในการทำแชมพูจากใบหมี่
2 นักเรียนมีการทำงานอย่างมีระเบียบ แบบแผน เป็นขั้นตอน
3 นักเรียนเกิดทักษะอาชีพในการทำแชมพูสมุนไพรจากใบหมี่ สามารถสร้างรายได้ให้
แก่ตนเอง
4 นักเรียนเกิดการทำงานเป็นทีม เสริมสร้างความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน
5 นักเรียนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
6 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
7 นักเรียนมีคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต (ทักษะการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์
อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ)
8 นักเรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
นอกจากนั้น การดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี แชมพูใบหมี่ โรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก โดยการผลิตและจำหน่ายแชมพูจากใบหมี่สด ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นในโครงการโรงเรียนสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีส่วนผสมของสารเคมี อีกทั้งยังจัดเป็นของที่ระลึกสำหรับมอบให้แขกผู้มาเยือนและผู้มีอุปการคุณ ซึ่งถือเป็นของฝากที่สร้างความประทับใจของผู้ได้รับเป็นอย่างดี ส่งผลให้มีการสั่งจองสินค้าเพิ่ม โดยทางโรงเรียนดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา นักเรียนทุกคนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีส่วนร่วมในการในการปฏิบัติกิจกรรม เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เป็นกระบวนการเสริมสร้างความสามัคคี ความเสียสละ และจิตสาธารณะ ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการได้มีการจัดทำสรุปผลการดำเนินงานเพื่อสรุปรายรับ – รายจ่าย ปัญหาและอุปสรรคที่พบ อีกทั้งยังได้ต่อยอดแนวความคิด ในการใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น และเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทคณะกรรมการต้องทำการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลาย เช่น ครีมนวดผมสมุนไพรอัญชัน น้ำยาเอนกประสงค์จากมะกรูด น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะได้มีการดำเนินงาน และจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่องในช่วงปิดภาคเรียน
2.2 ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จคือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำแชมพูและครีมบำรุงผมเป็นวัตถุดิบที่หาได้จากโรงเรียนและชุมชน ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการผลิต
2. ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรในท้องถิ่นเพื่อให้ความรู้ในการทำแชมพูสมุนไพร
3. มีการประชาสัมพันธ์ในการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายช่องทางทำให้การจำหน่ายเป็นไปอย่างสะดวกต่อเนื่องและมีกำไรหมุนเวียน
2.3 ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา
1. ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์มีราคาค่อนข้างสูง
2. วัตถุดิบในการผลิต (ใบหมี่) อาจจะมีอายุการใช้งานไม่นานเพราะเป็นวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ
3. ฉลากบรรจุภัณฑ์ยังไม่สามารถกันน้ำได้ จึงทำให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นั้นเลือนราง
4. ในการผลิตในแต่ละครั้งนั้น ไม่สามารถผลิตในจำนวนที่มากได้ เนื่องจากข้อจำกัดของอุปกรณ์ และเครื่องมือในการผลิต
2.4 ข้อเสนอแนะ
1 ช่วงระยะเวลาที่นำใบหมี่มาทำแชมพูสามารถนำมาผลิตได้ทุกช่วงเวลา ยกเว้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ใบหมี่ผลัดใบ
2 ควรมีการนำสมุนไพรชนิดอื่นในท้องถิ่นมาผลิตแชมพูให้มีสูตรที่หลากหลาย เพื่อทำการตลาดได้กับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
3 ควรมีการประชาสัมพันธ์การตลาดผ่านทางอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น
4 ควรมีการออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุแชมพูให้มีความสวยงาม ดึงดูดลูกค้า
5 ควรนำอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในขั้นตอนการผลิตเพื่อลดระยะเวลาลง
6 ควรมีการสอบถามผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แชมพูใบหมี่ เพื่อสะท้อนผลเกี่ยวกับข้อดี-ข้อที่ ควรปรับปรุงเพื่อนำผลมาพัฒนาปรับปรุงแก้ไขสินค้าให้ดีขึ้น
รูปภาพการดำเนินงานกิจกรรมบริษัทสร้างการดี อย่างน้อย 4 ภาพ
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
เข้าชม :
1626 [ ขึ้นบน ]
|