รายงานวิธีปฏิบัติ( Best Practice )
นางกัลยรัชต์ ขัติรัตน์
ตำแหน่ง ชำนาญการพิเศษ ครูคศ.3 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่
เกษียณอายุราชการ 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ข้อมูลงานที่รับผิดชอบ
งานสอน- สอนสาระนาฏศิลป์ ระดับชั้น ป.4 ,5, 6
- สอนกิจกรรมยุวกาชาด
- สอนกิจกรรมลดเวลาเรียน
งานวิชาการ- ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระศิลปะประสานงานวิชาการ หลักสูตร การประเมินผลและงานกิจกรรมจากฝ่ายต่างๆติดต่อกันนับแต่เริ่มบรรจุรับราชการจนถึงปีการศึกษา2560
-หัวหน้างานยุวกาชาดโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่
งานพิเศษ -รับผิดชอบฝึกสอนฝึกซ้อมงานด้านการแสดงทั้งของครูและนักเรียนในโอกาสงานกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนและชุมชน
-วิทยากรยุวกาชาดโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่นับแต่เริ่มบรรจุรับราชการถึงปีการศึกษา2560
-หัวหน้างานประชาธิปไตยโรงเรียนดูแลสภานักเรียนในช่วงปี พ.ศ.2548-2550
ผลงานและความภาคภูมิใจในการทำงาน
ผลงานนวัตกรรมที่เป็นเลิศ (BestPractice)
การใช้สาระละครศึกษาส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นักเรียน
1.ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ในกระบวนการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ซึ่งเป็นสาระหนึ่งในสาระวิชากลุ่มสาระศิลปะ
เป็นสาระที่ต้องใช้ทักษะและใช้เวลาในการฝึกฝนจึงจะเกิดทักษะที่ดีสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้
อย่างสวยงามเหมาะสมเกิดประโยชน์ได้ การเรียนรู้ในห้องเรียนนักเรียนจะเรียนเพียง
สัปดาห์ละ1ครั้งซึ่งเป็นเวลาน้อยเกินไปที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ จึงจำเป็นต้องฝึกฝนทักษะ
นอกเวลาเรียนคือการเข้าร่วมในกลุ่มสนใจนาฏศิลป์และละคร การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็น
กิจกรรมการเรียนในและนอกห้องเรียนจึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการสอนและกระบวนการ
เรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงจะเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้เกิดทักษะ
แก่ผู้เรียนอย่างแท้จริงทั้งยังเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง ผู้เรียน
เกิดทักษะ คุณธรรม จริยธรรมเห็นคุณค่าในละครและการนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน
เกิดการอนุรักษ์สืบสาน
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1จุดประสงค์
2.1.1เพื่อกระตุ้นส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
2.1.2เพื่อฝึกทักษะการสร้างและแสดงละคร
2.1.3เพื่อฝึกกระบวนการทำงานกลุ่มอย่างมีขั้นตอน
2.1.4เพื่อพัฒนาส่งเสริมการอ่านการเขียนของนักเรียน
2.1.5เพื่อให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์คุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน
2.1.6เพื่อให้เห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงละครเกิดการอนุรักษ์สืบสาน
2.2 เป้าหมาย
2.2.1เชิงปริมาณนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ในระดับชั้นป.5ป.6
2.2.2เชิงคุณภาพนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ในระดับชั้นป.5ป.6ทุกคนมีทักษะในการ
แสดงละคร ทักษะในกระบวนการทำงานกลุ่ม มีคุณธรรมจริยธรรมมีคุณลักษณะ
ที พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงละครและอนุรักษ์สืบสาน
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 เริ่มตั้งแต่ขั้นที่1 ถึงลำดับขั้นที่ 9 ซึ่งเป็นลำดับสุดท้ายเปรียบดังฐานเจดีย์ถึงยอดเจดีย์
9.นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
8.ปรับตนพัฒนา
7.สร้างสรรค์งานแสดงผลงาน
6.ให้ความรู้ใหม่เสริมประสบการณ์
5.สอบถามศึกษาฐานความรู้
4.สร้างสรรค์บรรยากาศ
3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.วิเคราะห์ผู้เรียน
1.ขั้นตอนแบบแผนกระบวนการสอน
เทคนิคการสอนที่ใช้ในกระบวนการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์สาระละคร
- เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- เทคนิคการระดมสมอง
- เทคนิคการสอนให้คิดประดิษฐ์
- เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (แบบg.i )
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการวัดความสามารถภาคปฏิบัติของการเรียน(Competercy-based measures of Learning )โดยใช้เทคนิคการเรียน
แบบประสบการณ์(Experiential )เน้นทักษะความสามารถในการทำงานเป็นทีมที่มีขั้นตอนดังนี้
1.ขั้นประสบการณ์( Experiential ) ขั้นรวบรวมข้อมูล
2.นำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ( Publishing )ขั้นของการพูด-การเขียนหรือ
นำเสนอด้วยปากเปล่า
3.ขั้นอภิปรายผล (Discussing )ซักถามได้แนวคิดประยุกต์ใช้
4.ขั้นสรุปพาดพิง (Generalizing )สรุปผลจาก3ขั้นตอนสู่แผนที่กว้างขึ้น สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
5.ขั้นประยุกต์ใช้ (Applying )นำสิ่งที่ได้ไปประยุกต์ใช้หรือปฏิบัติจริง
4. ผลการดำเนินการ/ ผลสัมฤทธ์/ ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 นักเรียนได้รับการกระตุ้นส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
4.2 นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการสร้างและแสดงละคร
4.3 นักเรียนได้รับการฝึกกระบวนการทำงานกลุ่มอย่างมีขั้นตอน
4.4 นักเรียนได้รับการพัฒนาส่งเสริมการอ่านการเขียน
4.5 นักเรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีคุณธรรมจริยธรรม
4.6 นักเรียนเห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงละครเกิดการอนุรักษ์สืบสาน
5. ปัจจัยความสำเร็จ
สาระละครศึกษามีกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการทำละครเรียนรู้ทักษะ
การแสดงและศิลปะด้านอื่นๆเช่นการออกแบบทำฉากและอุปกรณ์ เสียงประกอบ เครื่องแต่งกาย ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีขั้นตอน เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์คุณธรรมจริยธรรม
เห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงเกิดการอ่านเขียนคิดอย่างสร้างสรรค์สามารถนำไปปรับใช้ได้ใน
ชีวิตประจำวัน ในโอกาสที่เหมาะสมและสามารถสอดแทรกประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้ชมได้
6. ผลลัพธ์ที่ได้
6.1 นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์
6.2 นักเรียนมีทักษะการสร้างและแสดงละคร
6.3 นักเรียนทำงานตามกระบวนการทำงานกลุ่มอย่างมีขั้นตอน
6.4 นักเรียนได้พัฒนาการอ่านการเขียน
6.5 นักเรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีคุณธรรมจริยธรรม
6.6 นักเรียนเห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงละครเกิดการอนุรักษ์สืบสาน
ความภาคภูมิใจในผลงาน
ตลอดระยะเวลารับราชการได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุสาหะอย่างเต็มกำลังความสามารถศรัทธาในวิชาชีพประสบความสำเร็จในการทำงานลงสู่ผู้เรียนอย่างแท้จริงเกิดผลในการทำงานอย่างเห็นได้จากการสอนและนำนักเรียนลงสู่การแข่งขันเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลระดับเหรียญทองงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนทุกปีที่ลงแข่งขันตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด ภาค และระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนและจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ
ในกิจกรรมการขับร้องเพลง การเล่านิทานประกอบการแสดงกิจกรรมนาฏศิลป์และกิจกรรมละครโรงเล็กละครคุณธรรมเริ่มแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๖ถึงปี๒๕๔๓และเริ่มส่งนักเรียนลงแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนในปี๒๕๕๒จนถึงปี๒๕๕๗ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองระดับภาคทุกปีและระดับชาติในปี๒๕๕๓กิจกรรมละครโรงเล็กและหยุดส่งแข่งขันตั้งแต่ปี๒๕๕๘-๒๕๖๐เนื่องเพราะสุขภาพ
-จัดทำโครงการยุวชนเสียงดีในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านร้องแพลงให้มีโอกาสแสดงความสามารถของตน ส่งนักเรียนเข้าประกวดแข่งขันได้รับรางวัลอาทิเช่น
-รางวัลชนะเลิศนักร้องประเภทเพลงลูกทุ่งชายเหรียญทองงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ ครั้งที่๕๔ปี๒๕๔๕ที่จังหวัดเชียงใหม่
-รางวัลชนะเลิศนักร้องประเภทเพลงลูกทุ่งชายงานรวมพลังวันสีขาวที่วิทยาลัย
โปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ปี๒๕๔๕และปี๒๕๔๖นักร้อง๒คนๆละปี
-รางวัลชนะเลิศนักร้องประเภทเพลงไทยสากลดีเด่นของโครงการเดอะวิสต้า
ปี๒๕๔๘ได้รางวัล๒คนชาย๑คนหญิง๑คนหนึ่งในนี้คือนักร้องชายที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือ
นายวันธงชัย อินทรวัตรหรือต้อล RS
-ชนะเลิศกิจกรรมรำวงมาตรฐานงานเอกลักษณ์ไทยของสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ปีการศึกษา๒๕๔๒
-ชนะเลิศกิจกรรมรำศรีนวลงานเอกลักษณ์ไทยของสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
ปีการศึกษา๒๕๔๔
-นำนักเรียนแข่งขันการเล่านิทานคำเมืองประกอบการแสดงรับรางวัลชนะเลิศของมูลนิธิ
ครูบาศรีวิชัยปี๒๕๓๖ปี๒๕๓๗
-นำนักเรียนที่ชนะการแข่งขันการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบการแสดงของวัฒนธรรมเชียงใหม่ตัวแทนภาคเหนือนำเสนอการแสดงณเวทีศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติกรุงเทพมหานครปี๒๕๓๘
-นำนักเรียนแข่งขันการเล่านิทานเนื่องในวันแม่รับรางวัลชนะเลิศของจังหวัดเชียงใหม่ปี๒๕๔๓
-ฝึกซ้อมพิธีกรและการแสดงเข้าร่วมดำเนินการและแสดงเวทีระดับชาติเมืองทองธานีงานภาษาไทยแห่งชาติและงานปิดท้ายอำลาการประถมศึกษาแห่งชาติที่อยุทธยาก่อนจะเป็นสพฐในปัจจุบันปี2545
-นางกัลยรัชต์ขัติรัตน์เป็นตัวแทนภาคเหนือเข้าร่วมประกวดการขับร้องเพลงกล่อมลูก๔ภาค
ในรอบชิงชนะเลิศของมหาวิทยาลัยมหิดลในปีพ.ศ.๒๕๔๘
-รางวัลชนะเลิศครูผู้สอนนาฏศิลป์ดีเด่นของ อ.เมืองเชียงใหม่ ของศูนย์พัฒนาการศึกษาที่๓เชียงใหม่
และรองชนะเลิศอันดับ๑ของการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ในปีพ.ศ.๒๕๔๐
-เกียรติบัตรครูผู้มีความมุ่งมั่นอุทิศตนพัฒนาศักยภาพนักเรียนด้านศิลปกรรมจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต๑ปี๒๕๕๓
-รางวัลครูสอนดีของจังหวัดเชียงใหม่ปี๒๕๕๔
-เกียรติบัตร ครูสอนเป็นเห็นผลคนยกย่องจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ปี๒๕๕๕
-เกียรติบัตรครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองกิจกรรมละครคุณธรรมระดับภาคเหนืองานศิลปหัตถกรรม ปี๒๕๕๓ ปี๒๕๕๔ ปี๒๕๕๕ ปี๒๕๕๖ ปี๒๕๕๗
-เกียรติบัตรผู้สอนสาระศิลปะดีเด่น ปี๒๕๕๑ ปี๒๕๕๗ ปี๒๕๕๙จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต๑
-เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติคนดีศรีเชียงใหม่ปี๒๕๕๘
ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน
คติประจำใจ ขยัน พยายาม รับผิดชอบ พัฒนาตน
ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จ
1. ความพร้อมความตั้งใจมุ่งมั่นของตนเองและความศรัทธาในวิชาชีพ
2. ความรักความอบอุ่นแรงสนับสนุนเกื้อกูลจากครอบครัว
3. การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรผู้บริหารเพื่อนร่วมงานบุคคลากรผู้ปกครองและนักเรียน
4. งบประมาณจากองค์กรที่สังกัดทุกระดับ งบประมาณตนเอง
5. เวลาในการปฏิบัติงาน
6. การตอบรับจากผลงานที่ทำหรือผลสำเร็จของงาน
ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา
1. องค์กร ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน ไม่เห็นความสำคัญ
2. ขาดงบประมาณ
3. เวลาไม่เพียงพอในการปฏิบัติ
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้บริหารควรให้ความสำคัญงานและคนในทุกกลุ่มสาระ ไม่ใช่ให้ความสำคัญเมื่อต้องการงาน
2. งบประมาณควรเพียงพอต่อลักษณะงานจึงจะเกิดผลสำเร็จ
3. ควรจัดทีมงานให้ร่วมมือช่วยเหลือปฏิบัติงานและเพื่อสืบสาน
รูปประกอบ





.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
เข้าชม :
1863 [ ขึ้นบน ]
|