การยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ม.3 สูงเป็นอันดับ 1 ของเขตพื้นที่การศึกษา
ชื่อ นางสาวพิมพ์รดา สกุล ส่งชื่น
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียน วัดห้วยแก้ว
ปีที่เกษียณอายุราชการ 30 กันยายน 2588
1. ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ
1.1) หน้าที่ปฏิบัติการสอน
· เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
1.2) ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษา/งานประจำชั้น/ครูประจำกลุ่ม
· ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
· ปฏิบัติหน้าที่ครูสายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
1.3) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบ
· กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
· กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
· กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
· กิจกรรมชุมนุม
1.4) หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
· งานกิจการนักเรียน
· งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
· งานลูกเสือ-เนตรนารี
· งานห้องสมุด
· งานโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล
· งานโครงการโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม
· งานโครงการโรงเรียนสุจริต
· งานสภานักเรียน
· งานพิธีกรของโรงเรียน
· ครูเวรประจำวันศุกร์ และเวรวันหยุด
2. ผลงานความภาคภูมิใจ หรืองานที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
ปีการศึกษา
|
ผลงานความภาคภูมิใจ
|
๒๕๕๕
|
ยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย ทำให้นักเรียนได้รับเกียรติบัตร เป็นโรงเรียนที่มีผลคะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สูงเป็นลำดับที่ ๑ ของเขตพื้นที่และสูงกว่าระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
|
๒๕๕๗
|
ยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย ทำให้โรงเรียนได้รับเกียรติบัตร เป็นโรงเรียนที่มีผลคะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สูงอยู่ใน ๑๐ ลำดับแรกของเขตพื้นที่และสูงกว่าระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๕๗
|
๒๕๕๘
|
ได้รับเกียรติบัตรครูดีเด่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในงานวันครูประจำปี ๒๕๕๘
|
|
ยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย ทำให้โรงเรียนได้รับเกียรติบัตร เป็นโรงเรียนที่มีผลคะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สูงอยู่ใน ๑๐ ลำดับแรกของเขตพื้นที่และสูงกว่าระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๕๘
|
๒๕๕๙
|
ได้รับเกียรติบัตรจากโรงเรียนให้เป็นครูที่จัดการเรียนการสอนส่งผลให้นักเรียนมีผลคะแนน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สูงอันดับที่ ๑ ใน ๑๐ ของเขตพื้นที่และสูงกว่าระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๕๙
|
๒๕๖๐
|
ได้รับเกียรติบัตรครูดีเด่น “ครูดีศรีแม่ออน” ในงานวันครูประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐
|
|
ยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย ทำให้โรงเรียนได้รับเกียรติบัตร เป็นโรงเรียนที่มีผลคะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เป็นอันดับที่ ๒ ของเขตพื้นที่และสูงกว่าระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๖๐
|

.jpg)
.jpg)
2.1 วิธีดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
แนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยกระบวนการ “๓ต”
“ต : ตัดตอน”
ครูผู้สอนจะวางแผนการสอน โดยแบ่งเนื้อหาการสอนภาษาในระดับชั้น ม.๑-๓ ตามตัวชี้วัดออกเป็น ๕ ภาคเรียน รวมถึงการวัดและประเมินผลตามตัวชี้วัด ตามโครงสร้างหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้จบในภาคเรียนที่ ๑ ของชั้น ม.๓
จากนั้นในภาคเรียนที่ ๒ ของชั้น ม.๓ ใช้ตัวชี้วัดจาก TEST BLUEPRINT มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน และในการวัดและประเมินผลจะใช้คะแนน Pre O-net เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนเก็บ
“ต : เตรียมตัว”
ครู ศึกษาตัวชี้วัดจาก TEST BLUEPRINT –ของ สทศ. เพื่อวางแผนการสอนในภาคเรียนที่ ๒
- ศึกษาระดับการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยของนักเรียน เพื่อใช้วางแผนการจัดที่นั่งในการเรียน โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
- รวบรวม แนวข้อสอบจากหนังสือรวมข้อสอบ ข้อสอบเก่า สืบค้นข้อสอบออนไลน์ เพื่อทำเอกสารการติวเข้ม
- หาสื่อออนไลน์จาก Youtube เว็บไซด์ต่างๆ เพื่อใช้ในการช่วยติวเสริม และส่งลิงค์สื่อออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ลงในกลุ่ม FACEBOOK ของชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองในยามว่าง
- หาเครือข่ายครูภาษาไทย เพื่อเพิ่มเติมแนวทางการสอน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการสอนภาษาไทยซึ่งกันและกัน
- นร. ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ ศึกษาเนื้อหาที่จะสอบจาก TEST BLUEPRINT เห็นความสำคัญชองการเตรียมความพร้อม โดยครูปลูกฝังให้นักเรียนได้ฝึกทำข้อสอบแนว O-Net ตั้งแต่ ม.๑ ในท้ายชั่วโมงเรียน ท้ายเนื้อหาที่เรียนรู้ และฝึกจากข้อสอบกลางภาค ข้อสอบปลายภาค ที่ครูออกแบบแนวช้อสอบตามรูปแบบของ PISA และO-net เพื่อให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยในแนวทางการถามและตอบ
“ต : ติวเตอร์”
ครูจะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ ๒ ให้เหมือนกับการสอนแบบติวเตอร์ โดยจะเน้นการสอนวิเคราะห์โจทย์ การเชื่อมโยงคำถามกับความรู้ของนักเรียน สอนเทคนิคการทำข้อสอบ อาทิ ให้ทำข้อสอบในตอนที่คะแนนมากก่อน สอนการหา KEY WORD สอนเทคนิคการอ่านจับ ใจความ เทคนิคการตัดตัวเลือก และให้นักเรียนมีสมุดสรุปความรู้ตามตัวชี้วัด เป็นเรื่องๆ (My mapping / G.O./ใช้สีช่วยจำ)
2.2 ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จคือ
ด้านนักเรียน นักเรียนได้รับการเตรียมความพร้อมจากครูผู้สอนในเนื้อหาวิชามาอย่างน้อย ๒ ปี ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนจะต่อเนื่องและไม่ขาดตอน นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้รับการซ่อมเสริมได้ทันเวลาในช่วง ม.๑-๒ นักเรียนที่เรียนรู้เร็วได้รับการต่อยอดและฝึกฝนจากสื่อที่หลากหลาย และมีความแม่นยำเนื้อหาบทเรียนสามารถทบทวนให้เพื่อนได้
ด้านครู ครูทุ่มเทและให้ความสำคัญกับการเรียนของนักเรียน มุ่งมั่นเติมเต็มให้นักเรียนของตนเองได้เท่าเทียม ทันสมัยกับนักเรียนในเมือง สรรหาสื่อ เทคโนโลยี แอพพลิเคชั่นที่เร้าความสนใจมาให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียนให้รู้สึกสบายใจ สนุกและมีความสุขที่มาเรียนภาษาไทย
ด้านผู้ปกครอง ช่วยดูแล สอดส่องพฤติกรรมการเรียนและพฤติกรรมทางสังคมของบุตรหลานตนเอง ร่วมมือกับครูผู้สอนในการดูแล กำชับและติดตามสอบถามการเรียนเป็นระยะ ให้กำลังใจบุตรหลานต่อการเรียน และให้ความสนใจในการปรับ แก้ไขปัญหาร่วมกับครูในทุกเรื่อง
ด้านผู้บริหาร ให้งบประมาณสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนให้กำลังใจไม่สร้างความกดดันกับครู ไม่คาดหวังกับผลคะแนนแต่ให้แรงเสริมครูให้ทำอย่างดีที่สุดเต็มกำลังความสามารถ
ด้านอื่นๆ มีเวลาในการเรียน ทบทวนบทเรียน และได้อยู่กับนักเรียนไม่ต้องเข้าอบรม บ่อยๆ
2.3 ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา
ครูผู้สอนมีภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอนต้องทำควบคู่ไปด้วย ทำให้ต้องจัดสรรเวลาและวางแผนการสอนที่ดีต่อนักเรียนที่สุด แต่บางครั้งงานรองก็ส่งผลกระทบกับงานหลักคือการสอนนักเรียน ทำให้การเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
2.4 ข้อเสนอแนะคือ
หากการยกระดับไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ครูผู้สอนไม่ควรโทษตัวเอง ให้หมดกำลังใจ และครูผู้สอนไม่ควรได้รับความกดดันหรือบั่นทอนจิตใจ เพราะการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต้องมาจากปัจจัยด้านนักเรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนและเขตพื้นที่ ถึงจะสามารถขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จได้


“การสอนนักเรียนอย่างดีที่สุดด้วยความรักและเมตตา ผลที่ตามมามีค่ามากกว่าคะแนน O-NET”
เข้าชม :
2111 [ ขึ้นบน ]
|