นางรัชดาภรณ์ พันธ์พิกุล ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย ปีที่เกษียณอายุราชการ 2568
นวัตกรรมการนำเสนอผลงาน – นวัตกรรมที่เป็นเลิศ [BEST PRACTICES]
ชื่อผลงาน “ทักษะกระบวนการ บูรณาการกับสิ่งแวดล้อม สู่ค่ายเยาวชน...รักษ์พงไพร”
ชื่อผู้นำเสนอ นางรัชดาภรณ์ พันธ์พิกุล ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ ปีที่เกษียณอายุราชการ 2568
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
โรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
โทร 053-244255 โทรสาร 053-244255 มือถือ 0871264273
EMAIL : RATCHADA21@GMAIL.COM
รายละเอียดการนำเสนอผลงาน
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
โรงเรียนจัดโครงสร้างการบริหารงานเชิงระบบโดยมีกิจกรรมนักเรียน ใช้การบูรณาการ การมีส่วนร่วมในกลุ่มสาระวิชาเข้าด้วยกัน มีผู้รับผิดชอบชัดเจนในกลุ่มสาระที่ตนเองรับผิดชอบ ไม่ทำให้เป็นการเพิ่มภาระแต่อย่างใด เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบโดยปกติ เพื่อพัฒนาให้การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ผู้เรียนมีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกๆกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีกระบวนการบริหารพัฒนางานที่เป็นระบบ มีปัจจัยทุกด้าน ที่พร้อม บุคลากรทุกฝ่ายจึงร่วมกันวางแผน นำนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ จุดเน้น แผนงาน โครงการและกิจกรรม มีบันทึกร่องรอยการปฏิบัติที่เป็น [BEST PRACTICES] ของกิจกรรม ไว้ศึกษาในโอกาสต่อไป
การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ในมาตรา 23 เน้น การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ให้ความสำคัญของการบูรณาการ ความรู้ คู่คุณธรรม กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา ในส่วนของการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์นั้น ต้องให้เกิดทั้งความรู้ ทักษะและเจตคติทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เรื่องการจัดาร การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน วิทยาศาสตร์ มีบทบาทสำคัญยิ่งในโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของ ทุกคน ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุ เป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างมีระบบสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลาย และ สามารถตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ [Knowledge Based Society] ทุกคน จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ [ Knowledge Literacy For All ]
เพื่อที่จะได้ความรู้ ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์มีคุณธรรม ที่สำคัญคือ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในกาพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประโทศและดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกันในสังคมโลกอย่างมีความสุข จากการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาศาสตร์ ในระดับประถมศึกษาของข้าพเจ้า พบว่าปัญหาสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนยังขาดทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์และปฏิบัติในกระบวนการต่างๆ ทำให้นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือแสวงหา ความรู้ด้วยตนเอง
ดังนั้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มึความสำคัญต่อการเรียนวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะกิจกรรมการทดลอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบร่วมที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการทางการคิด เป็นกระบวนการทางด้านสติปัญญาในขณะเดียวกันก็สามารถนำไปใช้กับสาระเรียนรู้อื่นๆได้อย่างกว้างขวาง และนักเรียนยังสามารถนำทักษะดังกล่าวเป็นหลักในการคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาประกอบด้วย ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนกประเภท
3. ทักษะการวัด
4. ทักษะการใช้ตัวเลข(การคำนวณ)
5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปส และ สเปสกับเวลา
6. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
7. ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล
8. ทักษะการทำนายหรือการพยากรณ์
การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นทักษะส่งเสริมให้นักเรียนสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้
2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
วิธีดำเนินการพัฒนาขั้นตอนของการดำเนินงาน คณะครูผู้เกี่ยวข้องมาร่วมกันวางแผนเพื่อให้โรงเรียนชุมชนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ประการแรก พร้อมใจกัน จัดกิจกรรมให้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสถานศึกษาบูรณาการเชื่อมโยงหัวข้อกิจกรรม น้ำ ขยะ พืชสมุนไพร พลังงานทดแทนกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- การอ่าน การอ่านจับใจความ การอย่างออกเสียง
- การเขียน การเขียนเรียงความ คำขวัญ โครงงาน การแต่งประโยช
- การฟัง ดู และการพูด การนำเสนอผลงาน การเล่าเรื่อง
- หลักการใช้ภาษา ชนิดของคำ การแต่งประโยค
- วรรณคดีและวรรณกรรม เขียนคำขวัญ แต่งคำประพันธ์ คำคล้องจอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- การนับ คิดคำนวณ ความยาว ระยะทางพื้นที่ ทิศ แผนผัง ร้อยละ และ นำความรู้เกี่ยวกับ การวัดไปใช้แก้ปัญหาในสถาณการต่างๆได้
กลุ่มสาระวิทยาาสตร์
- ทักษะการสำรวจ สังเกต ทดลอง การรวบรวมข้อมูล การจัดหมวดหมู่ และโครงงาน
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ประชาธิปไตยในการทำงานกลุ่ม คุณธรรมจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ภูมิศาสตร์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ประวัติความเป็นมาของพืชและสัตว์
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
- สุขอนามัยในโรงเรียน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคต่างๆ
กลุ่มสาระศิลปศึกษาและดนตรี
- การวาดภาพสิ่งแวดล้อมที่สนใจ การร้องเพลงประกอบท่าทาง
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
- การสืบค้นด้วยอินเตอร์เน็ต การใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนรู้กับสิ่งแวดล้อม
การปลูกพืชในกระถางแขวน การคัดแยกขยะเพื่อโลกสวยด้วยมือเรา
กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ
- คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การนำเสนอขั้นตอนการปฏิบัติด้วยภาษาอังกฤษ
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามฐานที่ตนเองสนใจ โดยใช้แนวคิด “ฝึกให้รู้ ดูให้จำ ทำให้จริง” โดยหมุนเวียนทำกิจกรรมจนครบฐาน ดังต่อไปนี้
ฐานที่ 1 สิ่งแวดล้อมศึกษา ภูมิทัศน์ในโรงเรียน สวนสมุนไพร สร้างสรรความคิด ผลิตงานโดยนำ ความรู้มาพัฒนา บูรณาการกับสิ่งแวดล้อม และนำเสนอในลักษณะ
- วาดภาพ
- แต่งคำขวัญ คำกลอน
- เรียนความ เขียนเรื่องจากภาพ
- สิ่งประดิษฐ์จากสิ่งวัสดุเหลือใช้
- โครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ฐานที่ 2 การจัดการขยะ แยกขยะประเภทต่างๆโดยเริ่มจาก
1. การให้ความรู้สู่การปฏิบัติ (ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล ขยะพิษ)
2. ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และปุ๋ยสูตรพระราชทาน
ร่วมกันวางแผนโดยนำความรู้เรื่อง 5 R มาคิดวิเคราะห์คัดเลือกวิธีการได้ 3 แบบ ที่เหมาะกับบริบทของโรงเรียนคือ ลดการใช้ [Reduce] การใช้ซ้ำ [Reuse] และ รีไซเคิล [Recycle] ดำเนินการคัดแยกขยะ
ฐานที่ 3 บ่อดักไขมันโดยใช้ อีเอ็ม [EM]
บ่อดักไขมันในโรงเรียนเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการใช้ไปประยุกต์ใช้ในครัวเรือน หรือ แนะนำเพื่อนบ้าน จะช่วยลดมลพิษในแหล่งน้ำมีอยู่ในชุมชนได้อีกวิธีหนึ่ง ถ้าหากทุกบ้านทิ้งเศษอาหารและไขมันลงในแหล่งน้ำ เป็นสาเหตุให้น้ำเน่าเสีย เกิดมลภาวะเป็นพิษส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช
ฐานที่ 4 นักสืบสายน้ำ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตรวจสอบวัดคุณภาพน้ำ
กิจกรรมการเรียนรู้นักสืบสายน้ำ เป็นกิจกรรมที่ใช้วิธีวัดคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ได้แก่แม่น้ำปิง แหล่งน้ำในโรงเรียน เพื่อดูระบบนิเวศน์โดยมีสัตย์น้ำดังกล่าว เพราะถ้ามีสัตว์น้ำมาอาศัยอยู่ตามรากของพืชน้ำจำนวนหลายชนิดแสดงให้เห็นว่า คุณภาพน้ำดี สัตว์น้ำจืดตัวเล็กๆเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา แมลงน้ำต่างๆ เป็นสิ่งดึงดูดเด็กๆให้อยากเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ มีความมุ่งมันจะรักษาสายน้ำ กิจกรรมการเรียนทำให้นักเรียนรู้จักการสังเกต การนับจำนวน การแยกประเภท การรวบรวมข้อมูล อาจเป็นการบันทึกข้อมูลโดยการวาดรูป การเขียนคำขวัญ สรุปด้วยบทกลองหรือเขียนเป็นนิทานตามจินตาการก็ได้
ฐานที่ 5 เสริมความรู้สู่พลังงาน
การปั่นจักรยานเสริมสร้างสุขภาพ ผลพลอยได้จากการปั่นจักรยานคือ นักเรียนที่มีภาวะโรคอ้วนจะเป็นการช่วยลดความอ้วน สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ นักเรียนได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกาย นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้ในรูปแบบโครงงานแยกแลกความดี การทำแผนที่ความคิด การวาดภาพ การทำสถิติเปรียบเทียบน้ำหนัก จำนวนนับ จากการปั่นจักรยานข้างต้น
ฐานที่ 6 นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
นักเรียนได้สมุครเข้าเป็นส่วนหนึ่งที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับโรงเรียน นำความรู้มาใช้ปฏิบัติจริงในการดูแลสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนด้วยจิตอาสา ร่วมคิดร่วมทำด้านสิ่งแวดล้อม ตามหลักความพอเพียง(เศรษฐกิจพอเพียง)มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น หาผู้แทนนักเรียนเป็นอาสาสมัครในการดูแลเฝ้าระวังและรักษาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน
4. ผลการดำเนินงาน – ผลสัมฤทธิ์ – ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลสำเร็จจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ดำเนินการตามที่วางไว้คลอบคลุมกระบวนการ P D C A ปรากฎการดำเนินงานดังนี้
- ระดับความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม จากที่ผู้ปกครองกรอกแบบประเมิน หลังจากจัดกิจกรรมผลการดำเนินงานเป็นที่พึงพอใจ ร้อยละ 80 ได้รับการยกย่องชมเชย
- กิจกรรมมีความต่อเนื่องปฏิบัติได้ครบทุกกิจกรรม ทำให้นักเรียนมีนิสัยรักสิ่งแวดล้อม รักการแสวงหาความรู้ มีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- นักเรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ในการเรียนรู้ทุกสาระการเรียนรู้
- นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และชุมชน
- การมีส่วนร่วมกิจกรรมนักเรียนได้ทำกิจกรรมครบทุกกิจกรรม
5. ปัจจัยความสำเร็จ
กิจกรรมประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานตามระบบการเรียนรู้
- ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มและเปิดโอกาสให้ดำเนินงานอีกทั้งสนับสนุนส่งเสริม อำนวยความสะดวกทุกประการ
- มีความสามัคคีเสียสละ มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมทั้งความเป็นครูของคณะครู และบุคลากรในโรงเรียน
- ความร่วมมือ ร่วมใจจากนักเรียน ทำให้กิจกรรมบรรลุผลเป็นที่น่าพอใจของทุกฝ่าย ส่งผลถึงได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนเยาวชนแกนนำของโครงการค่ายเยาวชน...รักษ์พงไพรเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ถึง ๓ ปี
- ความร่วมมือของชุมชนในท้องถิ่น เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ทำให้ได้รับการสนับสนุนเต็มที่
6. บทเรียนที่ได้รับ [ Lesson Learned ]
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
- นักเรียนและครู ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อม
- ครูมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย โดยจะต่อยอดการศึกษาพันธุ์ไม้ด้วย QR CODE
- โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ร่มรื่นน่าอยู่ สะอาด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
- ผู้ปกครอง ชุมชน มีความภาคภูมิใจในบุตรหลานของตนและร่วมปฏิบัติกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม มากขึ้นทำให้ภูมิทัศน์สะอาด สวยงามมากขึ้น
7. การเผยแพร่ การได้รับยกย่อง รางวัลที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียน ได้ปฏิบัติกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งรูปแบบ โครงงาน และ กิจกรรมบูรณาการ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ จนได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลเหรียญทองการประกวดโครงงานทดลองวิทยาศาสตร์
- รางวัลเหรียญทองการประกวดประฏิมากรรมสิ่งแวดล้อมน่าอยู่
- รางวัลเหรียญทองโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง การทำปุ๋ยชีวภาพ (EM) น้ำยาล้างจาน แชมพูสมุนไพรใบหมี่
- รางวัลเหรียญทองโครงงานคุณธรรมเรื่อง ห้องเรียนเรารักความสะอาด และเรื่องแยกแลกความดี
- รางวัลแกนนำนักเรียนกิจกรรมค่ายเยาวชน...รักษ์พงไพรเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2558 -2561 ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนแกนนำต่อยอดยอดเยี่ยมระดับประเทศ ( ถึง 3 ปี )
ผลงานและความภาคภูมิใจ
นักเรียนได้รับคัดเลือก เป็นตัวแทนเยาวชน...รักษ์พงไพร ระดับประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๖๑
กล่าวถวายรายงาน ต่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ระหว่างวันที่ ๕ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๑

นักเรียนได้รับคัดเลือก เป็นตัวแทนเยาวชน...รักษ์พงไพร ระดับประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐
กล่าวถวายรายงาน ต่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ระหว่างวันที่ ๕ – ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐

นักเรียนได้รับคัดเลือก เป็นตัวแทนเยาวชน...รักษ์พงไพร ระดับประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘
กล่าวถวายรายงาน ต่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘








เข้าชม :
1660 [ ขึ้นบน ]
|