นางมาลา นามสกุล บูรณา ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดสันโค้ง ปีที่เกษียณอายุราชการ 30 กันยายน พ.ศ. 2565
1. ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ
งานด้านการจัดการเรียนการสอน
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ทำการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
งานที่ได้รับมอบหมาย
- เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
2. ผลงานความภาคภูมิใจ หรืองานที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
- ผลคะแนนการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ( National Test : NT )
ปีการศึกษา 2560 ด้านภาษา สูงอยู่ใน 10 ลำดับแรกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
เขต 1
- คะแนนเฉลี่ยร้อยละการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ( National Test : NT )
ปีการศึกษา 2560 รวมทุกด้าน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ
- ปี พ.ศ. 2533 ได้รับรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น ของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
- ปี พ.ศ. 2546 ได้เป็นบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ปี พ.ศ. 2547 ได้ผ่านการประเมินมาตรฐานครูวิทยาศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
มีผลงานอยู่ในระดับ ดี
- ปี พ.ศ. 2547 ได้เป็นครูผู้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และได้รับเข็มเกียรติยศจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
- ปี พ.ศ. 2550 ได้รับเกียรติบัตรครูผู้สอนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2549 ในงานวันครู จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
- เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองการแข่งขันวาดภาพโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (โปรแกรม Paint) ประจำปีการศึกษา 2555
- ได้รับเกียรติบัตร หนึ่งแสนครูดี ประจำปี 2555
- ได้รับรางวัลผลการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ปีการศึกษา 2556 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
2.1 วิธีดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
1. ศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามมาตรฐานในหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนานักเรียน
2. ศึกษาโครงสร้างข้อสอบวัดความสามารถของผู้เรียนระดับชาติ( National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ของสำนักทดสอบทางการศึกษา โดยดูกรอบโครงสร้างข้อสอบของแต่ละด้าน ( 3 ด้าน คือ ความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านคำนวณ และความสามารถด้านเหตุผล) ว่ามีตัวชี้วัดใดที่นำมาสร้างข้อสอบ นำมาสอนนักเรียนตามตัวชี้วัดนั้นและฝึกนักเรียนทำซ้ำๆจนเกิดทักษะ
3. จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนโดยใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยจัดเตรียมแบบฝึกหัดและแบบบันทึกกิจกรรมที่ใช้เรียนล่วงหน้าให้กับนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถเรียนไปพร้อมๆกับผู้เรียนในโทรทัศน์ได้
4. ทำการตรวจแบบฝึกที่นักเรียนทำอย่างรวดเร็วหลังจากหมดชั่วโมงที่เรียน เมื่อพบจุดไหนที่ทำไม่ได้ก็ชี้แจงให้กับนักเรียนทันที
5. สรุปเนื้อหาที่เรียนไปพร้อมๆกับนักเรียนหลังจากหมดชั่วโมง
6. ทำการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนทุกวันในชั่วโมงสุดท้ายและหลังเลิกเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดทุกข้อในหนังสือแบบฝึกหัด และทำแบบฝึกเสริม
7. นำนิทานบทร้อยกรอง บทความ ฯลฯ มาสอนนักเรียนให้นักเรียนฝึกอ่านและตอบคำถามพร้อมกับให้ช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องและบอกข้อคิดที่ได้ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง )
8. สอนแบบบูรณาการเพิ่มเติมในทุกกลุ่มสาระ เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักเชื่อมโยงความรู้
9. สอนกิจกรรมเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผัก ปลูกมะนาว เพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกประมาณการเวลาในการเจริญเติบโต การชั่งขาย การรดน้ำ ฯลฯ นักเรียนจะได้รับการฝึกจากสถานการณ์จริง
10. ใช้สื่อการสอนที่หลากหลายทั้งในและนอกสถานศึกษา และเน้นสื่อที่เป็นของจริง
11. การประเมินผู้เรียนใช้การประเมินตามสภาพจริงในศตวรรษที่ 21 และใช้แบบสะท้อนคิดของนักเรียน เพื่อนำมาพัฒนานักเรียนได้
12. ฝึกทำแบบทดสอบ NT ในปีที่ผ่านมาซึ่งสามารถทำให้นักเรียนเกิดทักษะในการทำข้อสอบ
13. ให้นักเรียนฝึกท่องสูตรคูณทุกวัน
2.2 ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จคือ
1. ปฏิบัติกับนักเรียนเสมือนเป็นลูกของตนเอง ให้ความรัก ความเอ็นดู ความใกล้ชิด จนทำให้นักเรียนเกิด
ความไว้วางใจ สามารถปรึกษาปัญหากับครูได้
2. ได้รับการสนับสนุน คำแนะนำและกำลังใจจากผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน และมีความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีกับคณะครู
2.3 ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา
นักเรียนที่สอนมีความแตกต่างกัน และมีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และด้านอารมณ์
รูปภาพประกอบ
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)

เข้าชม :
1850 [ ขึ้นบน ]
|