นาย นัท สะสะรมย์
ตำแหน่ง ครู..ค.ศ.1 โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 1
ปีที่เกษียณอายุราชการ 2589
1. ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ
ปฏิบัติงานหลัก
· ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
· ปฏิบัติการสอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6
ด้านการสอนในปีการศึกษา ....2560......
ปฏิบัติการสอน จำนวน …3... รายวิชา จำนวน ...4... ห้อง จำนวน ...22.... ชม./สัปดาห์ นักเรียนจำนวน 59 คน ดังนี้
แสดงจำนวนรายวิชา ห้องเรียน นักเรียน คาบเรียน ที่ปฏิบัติการสอน
ที่
|
รายวิชา
|
ชม./สัปดาห์
|
1
|
ภาษาไทย
|
5
|
2
|
วิทยาศาสตร์
|
8
|
3
|
กิจกรรมชุมนุม
|
1
|
4
|
กิจกรรมแนะแนว / กิจกรรมสวดมนต์
|
1
|
5
|
ซ่อมเสริม
|
6
|
6
|
ลูกเสือ - เนตรนารี
|
1
|
รวม
|
22
|
หน้าที่พิเศษอื่น ได้แก่
1) งานบริหารวิชาการ
- จัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้
- พัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
- พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคนิควิธีการเรียนการสอน
- งานวัดผลประเมินผล/เอกสารธุรการชั้นเรียนต่างๆ
2) งานบริหารนโยบาย
- การประกันคุณภาพการศึกษา
- จัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
- จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
- การประเมินผลการดำเนินโครงการต่างๆ
- จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3) งานบริหารทั่วไป
- งานส่งเสริมกิจการนักเรียน
- งานส่งเสริมด้านพฤติกรรมของนักเรียน
4) งานบริการการเงิน
- ร่วมวางแผนและรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี
- กรรมการการบริหารพัสดุและสินทรัพย์
- ดูแลรับผิดชอบเงินออมทรัพย์นักเรียน/ทุนการศึกษานักเรียน
โครงการ
1. โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่
2. โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
3. โครงการยุวชนน้อยท่องเที่ยวดอยปุย (มัคคุเทศก์น้อย)
4. โครงการไทยแลนด์ 4.0
2. ผลงานความภาคภูมิใจ หรืองานที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
Ø ครูผู้ฝึกสอนการแข่งขัน Lego Education contest ระดับประถมศึกษา งาน Thailand STEM Festival
and ASEAN Academic Symposium 2017 ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดยทีมโรงเรียนเจ้าพ่อหลวง อุปถัมภ์ 1 ได้รางวัลระดับเหรียญทอง
Ø การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ป.3 - 6
Ø ดำเนินการดูแล รับผิดชอบ ส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
2.1 วิธีดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
2.1.1 การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21
2.1.2 กระบวนการ STEM Education
2.1.3 การจัดการเรียนการสอน โดยบันทึกองค์ความรู้แบบ MIND MAP
2.1.4 กระบวนการ PLC
2.2 ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จคือ
2.2.1 ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้ารับการพัฒนาศักยภาพจาก การประชุม อบรมและสัมมนา
2.2.2. คณะครูในหน่วยงานและเครือข่ายให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
การจัดการเรียนการสอน
2.2.3 ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ มีส่วนร่วมกับทางสถานศึกษา
2.2.4 นักเรียน และครูมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มีความพยายาม ดูแลเอาใจใส่และแก้ปัญหาร่วมกัน
2.3 ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา/ ข้อเสนอแนะ
2.3.1 สภาพภูมิอากาศ ที่ค่อนข้างเย็นและชื้นตลอดปีส่งผลทำงานวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเอกสารการสอนต่างๆ ได้รับความเสียหาย
2.3.2 ระบบไฟฟ้า มักประสบเหตุการณ์ไฟดับอยู่บ่อยครั้งจากวันที่มีฝนตก ลมแรง
2.3.3 ขาดแคลนงบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
2.3.4 ขาดแคลนห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ข้อเสนอแนะ
1. หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์และสารเคมี
2. สถานศึกษาควรมีการติดตั้งระบบสำรองไฟ เช่น การติดตั้งแผงเซลล์สุริยะ การติดตั้งเครื่องสำรองไฟ เป็นต้น
3. ควรมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และตู้เก็บสื่อหรืออุปกรณ์อย่างมิดชิดและเป็นระบบ
4. จัดทำวิจัยในชั้นเรียน ปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำผลการไปใช้วางแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น
 
 
เข้าชม :
2257 [ ขึ้นบน ]
|