อนุรักษณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ชื่อ นางสุนทรี นามสกุล นวลศรี
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านลวงเหนือ
ปีที่เกษียณอายุราชการ ๒๕๖๔
1. ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ
- โครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง
- โครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
- โครงการเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร“ปุ๋ยอินทรีย์ใบไม้บด” ประจำปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑
- โครงการ ๑ โรงเรียน ๑ อาชีพ ๑ ผลิตภัณฑ์“ปุ๋ยอินทรีย์ใบไม้บด ชนิดอัดเม็ด” ประจำปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑
- โครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็นหลอด LED ประจำปี ๒๕๖๑
- โครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ(ลดการใช้ไฟฟ้าที่โรงเรียน) ประจำปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑
2. ผลงานความภาคภูมิใจ หรืองานที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
2.1 วิธีดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ชื่อนวัตกรรม “โรงเรียนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”
เป้าหมาย/จุดประสงค์ของการมีนวัตกรรม
1. เพื่อบูรการกิจกรรมการคัดแยกขยะและกระบวนการเรียนรู้ (Problem Based Learning)
2. เพื่อเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร ผลิตปุ๋ยหมักใบไม้บด ชนิดอัดเม็ด
3. เพื่อบูรการกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้ามุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
องค์ประกอบ/กระบวนการ/ขั้นตอนของนวัตกรรมประกอบด้วย
ขั้นการวางแผน
1. ศึกษานโยบาย กลยุทธ์ของรัฐบาล และสพฐ.
2. กำหนดเป็นนโยบายของโรงเรียนด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
3. ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครองเพื่อขอความร่วมมือ
4. ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา กำหนดแผนงานและคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
5. กำหนดบทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
6. กำหนดเครื่องมือติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
7. การบูรณาการกับกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขั้นดำเนินการ การบูรณาการการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ
1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา
2. ครูและนักเรียนเข้ารับการอบรม/เข้าค่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
3. จัดกิจกรรมบูรณาการการอนุรักษ์พลังงาน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
4. จัดกิจกรรมบูรณาการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการ 3Rs Reduce ใช้น้อย Reuse ใช้ซ้ำ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่
5. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุมปลูกจิตสำนึกรอยเท้าเล็ก กิจกรรมหมู่สีประจำวัน
6. ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ จัดทำโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร ปุ๋ยหมักใบไม้บด ชนิดอัดเม็ด จัดทำผลิตภัณฑ์ ๑ โรงเรียน ๑ อาชีพ ๑ ผลิตภัณฑ์
7. การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลหรือ AAR เป็นระยะๆ ตามแผนงาน
8. รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานเพื่อดูความก้าวหน้า
ขั้นสรุปและรายงานผล
1. สรุป รายงานผลการดำเนินงาน เสนอผู้เกี่ยวข้อง
2. จัดนิทรรศการ เผยแพร่โรงเรียนในเครือข่ายและผู้ที่สนใจ
ความสำเร็จที่เกิดขึ้น และรางวัลที่ได้รับ
วัน/เดือน/ปี
|
ชื่อรางวัล
|
หน่วยงานที่มอบรางวัล
|
20 มกราคม 2561
|
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ ได้รับรางวัล EGAT Green Learning Awards 2017 ระดับประเทศ
เป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
ที่โรงเรียน) ประจำปี 2560
|
โล่รางวัล ระดับประเทศ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
|
20 มกราคม 2561
|
นางสุนทรี นวลศรี ได้จัดทำผลงานในการประกวด โรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
ที่โรงเรียน) ประจำปี 2560
|
เกียรติบัตร
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
|
5 – 8 กรกฎาคม 2561
|
นางสุนทรี นวลศรี เป็นวิทยากรครูแกนนำ “Green School Camp ค่ายห้องเรียนสีเขียว
รักพลังงาน” โครงการโรงเรียนสีเขียว ด้านการลดการใช้พลังงานการจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รุ่น 5 ภาคเหนือ
|
เกียรติบัตร ระดับภาคเหนือ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ร่วมกับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
|
5 – 8 กรกฎาคม 2561
|
นักเรียนแกนนำ 3 คน ผ่านการอบรม
“Green School Camp ค่ายห้องเรียนสีเขียว
รักพลังงาน” โครงการโรงเรียนสีเขียว ด้านการลดการใช้พลังงานการจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รุ่น 5 ภาคเหนือ
|
เกียรติบัตร ระดับภาคเหนือ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ร่วมกับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
|
12 สิงหาคม 2560
|
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ นางสุนทรี นวลศรี
ด.ญ.พัชราวดี ขำเขียว ได้รับโล่ และเกียรติบัตรรางวัลยอดเยี่ยม ต่อยอดยั่งยืน ระดับภาค โครงการค่ายเยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ระดับประเทศ ปีที่ 3
|
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
|
26 กันยายน 2560
|
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ ได้รับการคัดเลือกรางวัล
Best Practice ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
และจัดนิทรรศการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การบริหารจัดการขยะ โรงเรียนปลอดขยะ
(OBEC ZERO WASTE SCHOOL) ระดับภูมิภาค โครงการการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะ
ในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน ประเทศไทย
ไร้ขยะ “โรงเรียนปลอดขยะสัญจร 2560”
|
เกียรติบัตร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
|
6 พฤศจิกายน 2560
|
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ ได้รับรางวัล
โรงเรียนต้นแบบดีเด่น ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเกษตร
การประกวด Y Green School Award ๒๐๑๗
โรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงาน
และสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
|
มูลนิธิ วาย.เอ็ม.ซี.เอ.
เพื่อพัฒนาภาคเหนือ
|
14 ธันวาคม 2560
|
นักเรียนแกนนำ 3 คน ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันตอบปัญหา ระดับประถมศึกษาเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทยฯ สืบสานพระราชปณิธาน...สานใจรักษ์สิ่งแวดล้อม รูปธรรมการจัดงานร่วม ตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
|
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่ายต้านโลกร้อน
|
1 สิงหาคม 2559
|
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ ได้รับโล่รางวัล
ผ่านการนำเสนอผลงานดีเด่น (Best Practice)
ระดับภูมิภาค ระดับดีเยี่ยม โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล ๑ โรงเรียน ๑ อาชีพ ๑ ผลิตภัณฑ์ ภาคเหนือตอนบน ประจำปีการศึกษา 2559
|
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
30 พฤศจิกายน 2559
|
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ นางสุนทรี นวลศรี ครูแกนนำและนักเรียนแกนนำ ได้รับ
โล่รางวัลดีเด่น ด้านการจัดการขยะที่เป็นระบบและมีส่วนร่วม และนักเรียนแกนนำโรงเรียนบ้านลวงเหนือ 3 คน ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันตอบปัญหา ระดับประถมศึกษา เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทยฯ : Thailand 4.0
|
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่ายต้านโลกร้อน
|
29 พฤศจิกายน 2560
|
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ เป็นสถานศึกษาพอเพียง
ที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระดับประเทศ
ปี 2558
|
โล่รางวัล ระดับประเทศ
ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง
มูลนิธิยุวสถิรคุณ
|
7 ธันวาคม 2559
|
นางสุนทรี นวลศรี รับเกียรติบัตร Best Practice เศรษฐกิจพอเพียง ระดับประเทศ ปี 2559
ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
เกียรติบัตร ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ
|
7 ธันวาคม 2559
|
เด็กหญิงรัตนาภรณ์ อิ่นคำ รับเกียรติบัตร Best Practice เศรษฐกิจพอเพียง ระดับประเทศ
ปี 2559 ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
เกียรติบัตร ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ
|

.jpg)
.JPG)
.jpg)

2.2 ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จคือ
1. การวางแผนที่ดี ความต่อเนื่องของกิจกรรม ก้าวแรกและก้าวต่อไป
2. ทีมงานที่ดี การทำงานเป็นทีมทั้งครู นักเรียน บุคลากรทั้งในและนอกสถานศึกษา
3. การเรียนรู้ที่ดี มีการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นแกนกลาง
4. การมีจิตสำนึกที่ดี ความมุ่งมั่น เสียสละ อุทิศตน
5. การมีเครือข่ายที่ดี หน่วยงาน องค์กรและมูลนิธิที่สนับสนุนส่งเสริม
2.3 ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา
การพัฒนานักเรียนแกนนำควรมีการส่งต่อจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
2.4 ข้อเสนอแนะคือ
1. กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง และส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
2. การปลูกมีจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลาแต่มีความยั่งยืน
เข้าชม :
306 [ ขึ้นบน ]
|