ประวัตินางศศิธร สินลา
นางศศิธร นามสกุล สินลา
ตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแช่ช้าง( เทพนานุกูล )
ปีที่เกษียณอายุราชการ พ.ศ. 2560
1. ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบตลอดชีวิตของการรับราชการ
บทบาท/หน้าที่ของครูเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบตลอดชีวิตของการรับราชการ
1. วางแผนสร้างหน่วยการเรียนรู้ กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
2. จัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง แสดงออกอย่างอิสระ และมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม
3. จัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทั้งภายในภายนอกสถานศึกษา ชี้และจัดหาแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในชุมชน เช่นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ แหล่งผลิตศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฯลฯ
4. พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ ทันต่อเหตุการณ์
5. เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม ปฏิบัติดีต่อเพื่อนครู และนักเรียน
6. จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ให้มีบรรยากาศดึงดูดความสนใจ ท้าทายให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วม
7. จัดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพจริง โดยประเมินจากการปฏิบัติ การสังเกต การสัมภาษณ์ จากแฟ้มสะสมงาน ฯลฯ
8. จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
9. จัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยให้มีการประสานกันระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
นอกจากนี้ยังมีทัศคติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครูดังนี้
1. ทำการสอน อบรมนักเรียน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการ
2. เอาใจใส่ในการสอน ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สม่ำเสมอ
3. ส่งเสริมและเผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
4. อบรมสั่งสอนและเผยแพร่ความรู้ ปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ไทย
5. ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ครูและนักเรียน
6. เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งหรือละทิ้งหน้าที่การงาน
7. ช่วยเหลือกิจการของโรงเรียนและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
8. ศึกษาหาความรู้ วิธีการสอน วิธีประเมินผล การใช้หนังสือเรียนและคู่มือการเรียนการ
สอนตามหลักสูตร
บทบาทของครูต่อการแก้ไขปัญหาสังคม
1. ครูจะต้องเป็นนักวิจัย เก็บข้อมูลให้ละเอียดว่าปัญหาสังคมในปัจจุบันมีอะไรที่ครูจะต้องร่วมมือแก้ไข
2. ครูต้องเป็นนักวิเคราะห์ เมื่อหาข้อมูลมาพร้อมก็นำปัญหาเหล่านั้นมาวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาให้ละเอียด
3. ครูต้องเป็นนักวิจารณ์ทั้งปัญหาของตนเอง ของนักเรียนและสังคมด้วยวิธีจิตวิทยาเพื่อความกระจ่างของปัญหา ครูจะต้องเป็นคนกล้าที่จะแสดงว่า ครูเข้าใจปัญหาและพร้อมที่จะแก้ปัญหา
4. ครูจะต้องมีความสามารถนำคุณค่าของบทเรียนมาเป็นตัวเชื่อมโยงผสมผสานให้เกิดการแก้ไขปัญหาในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของครู
1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอน
อย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตร การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและ สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย
2. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกร
การเรียนการสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร
4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า
6. ปกครองดูแลความทุกข์สุขของศิษย์
7. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
8. ดูแลสอดส่องป้องกันภัยพิบัติมิให้บังเกิดแก่ทรัพย์สินของโรงเรียน
9. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
10. สร้างเสริมสมรรถภาพทางวิชาการให้แก่ตนเองอย่างสม่ำเสมอ
11. รักษาวินัยและประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป
2. ผลงานความภาคภูมิใจ / งานที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
- รางวัลผลโอเน็ตสูงกว่าระดับชาติ (สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม)
- รางวัลโครงงานคุณธรรมเหรียญทอง ระดับภาค
- รางวัลโล่ครูดีไม่มีอบายมุข
- รางวัลคุรุสดุดี
- รางวัลครูดีในดวงใจ
- คุรุสภา (สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม)
2.1 วิธีดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
- ในฐานะที่ครูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนานักเรียนใน
ความรับผิดชอบ จึงเห็นความจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้น ความหวังของครูผู้สอนที่ต้องการให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคม มีพฤติกรรมที่ดี การดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนึกถึงภาพใหญ่ของมวลมนุษยชาติ หากความดีงาม จริยธรรม คุณธรรมของมนุษย์ลดหย่อนย่อมก่อให้เกิดความเสียหายในทุก ๆ ด้าน ดังนั้นครูสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมควรเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อน สร้างคนดี คนเก่งให้กับสังคม
- การจัดการเรียนรู้ อาจดำเนินการด้วยวิธีการที่หลากหลายให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน และโรงเรียน ครูควรปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับธรรมชาติวิชา ดังนี้
จัดการเรียนแบบสร้างความรู้ โดยมีขั้นตอนสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอน
ตัวอย่างจากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ของครูสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ประสบความสำเร็จ เช่น ธนาคารความดี หรือแบบบันทึกความดี เป็นการให้นักเรียนบันทึก สะสมความดีที่ปฏิบัติเพื่อตนเอง หรือเพื่อสังคม
4. ข้อเสนอแนะ
- ครูสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ต้องเป็นคนที่ใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ เป็นคนทันต่อเหตุการณ์รอบด้าน
- ควรจัดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง โลก ศึกษาเพื่อให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
2.2 ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบผลสำเร็จ คือ
- ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารในองค์การควรมีความเข้าใจและตระหนักถึง
ความสำคัญ รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการความรู้
- มีเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่ชัดเจน ซึ่งเป้าหมายนี้จะต้องสอดคล้อกับกลยุทธ์ขององค์กร
- มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ภายในองค์กร
- มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ เช่น ค้นหาความรู้
- วิเคราะห์ข้อมูล จัดระเบียบและดึงเอาความรู้ไปใช้อย่างเหมาะสม
- ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ และบุคลากรต้องตระหนักถึงความสำคัญและเห็นถึงคุณค่าของการจัดการความรู้
- มีการวัดผลของการจัดการความรู้ ซึ่งจะช่วยให้องค์การทราบถึงสถานะ และความคืบหน้าของการจัดการความรู้ ทำให้สามารถทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
- มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับหรือเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
- มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- ครอบครัวมีส่วนในการสนับสนุนในการทำงาน
- ขวัญและกำลังใจจากทุกฝ่าย
ปัญหา อุปสรรค จุดที่ควรพัฒนา
- ครอบครัวของนักเรียน ที่ไม่มีการส่งเสริมเท่าที่ควร ต้องพัฒนาที่ครอบครัวของนักเรียน
- เวลามีน้อยมาก กิจกรรมมากเกินไป
- ควรพัฒนาที่ครอบครัวและตัวของนักเรียนเอง
2.3 ข้อเสนอแนะ คือ
- การพัฒนาปรับปรุงวิธีการสอนของครู
- การสร้างจิตวิญญาณและจรรยาบรรณของความเป็นครู
- การสนับสนุนครูที่มีศักยภาพเป็นต้นแบบสำหรับครูและจัดทำเป็นเครือข่ายหรือครูมืออาชีพ
 
 .jpg)
เข้าชม :
673 [ ขึ้นบน ]
|